5 สิงหาคม 2556

ประเภทของหุ่นยนต์ : ตามลักษณะการควบคุมสั่งการ

……การแบ่งประเภทของหุ่นยนต์ตามลักษณะการการควบคุมสั่งการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. Point-to-point (PTP) control robot

……หุ่นยนต์ที่ควบคุมสั่งการแบบ PTP จะเคลื่อนไหวไปทำงานแบบ จุด-ต่อ-จุด โดยตำแหน่งของจุดแต่ละจุดจะถูกเก็บไว้ใน Control Memory ของหุ่นยนต์หุ่นยนต์ควบคุมแบบ PTP จะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ให้ไปยังจุดต่อไป

Alications :

  • Component Insertion
  • Spot Welding
  • Hole Drilling
  • Machine Loading and Unloading
  • Assembly Operations

2. Continuous-path (CP) control robot

……หุ่นยนต์ที่ควบคุมสั่งการแบบ CP จะสามารถเคลื่อนไหวโดยตลอดตาม Path ที่ถูกกำหนดไว้ได้ และหุ่นยนต์ยังสามารถสั่งหยุดการเคลื่อนไหวที่ต่ำแหน่งใดใดก็ได้ใน Path กำหนดนั้นๆ
……จุดทั้งหมดของแนวการทำงานจะถูกบันทึกไว้โดยคร่าวๆ ใน Control Memory ของหุ่นยนต์ โดยหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ทั้งแบบที่เป็นเส้นตรงซึ่งง่ายที่สุด ไปตลอดจนถึงการเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งที่ซับซ้อนอย่างราบรื่น

Alications :

  • Spray Painting
  • Finishing
  • Gluing
  • Arc Welding Operations

3. Controlled-path robot

……สำหรับหุ่นยนต์ที่ควบคุมแบบ controlled-path อุปกรณ์สำหรับควบคุมสามารถ generate  path การเคลื่อนไหวเป็นรูปทรงเลขาคณิตที่แตกต่างกัน เช่น เส้นตรง, วงกลม, และเส้นโค้ง ที่มีความแม่นยำสูง โดยจะมีเพียงจุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด และ สมการของ Path ที่จะถูกเก็บไว้ใน control memory ของหุ่นยนต์

ประเภทของหุ่นยนต์ : ตามลักษณะการใช้งาน

การแบ่งประเภทของหุ่นยนต์ตามลักษณะการใช้งาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
  1. หุ่นยนต์ชนิตติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed Robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง ปกติจะมีขนาดใหญ่ และใช้พลังงานจากภายนอก เช่น หุ่นยนต์แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
  2. หุ่นยนต์ชนิตเคลื่อนที่ได้ (Mobile Robot)
    เป็นหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่โดยใช้ ล้อ ตีนตะขาบ ขาเดิน การว่ายน้ำ หรือบินไป เช่น หุ่นยนต์สำรวจ หุ่นยนต์กู้ภัย เป็นต้น
Fixed Robot

Mobile Robot


หุ่นยนต์ คือ อะไร?

หุ่นยนต์ : Robot 

.....ตามความหมายใน ราชบัณฑิตยสถาน "หุ่นยนต์" หมายถึง "หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงานหลายอย่างแทนมนุษย์ได้ โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่งโดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล"
.....แต่ในความหมายที่ผมเข้าใจ "หุ่นยนต์" ก็คือ เครื่องจักรกลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการการทำงาน หรือเลียนเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต โดยอาศัยความรู้ในด้านต่างๆ เช่น Mechatronics ,Computer และ Information System เป็นต้น  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของผู้พัฒนา

ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Bicentennial Man (1999) - เมื่อหุ่นยนต์มีความคิดเป็นของตัวเอง และปรารถนาที่จะเป็นมนุษย์
.....คำว่า "Robot" ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักเขียนบทละครชาวเช็กชื่อ คารีล กาเปค (Karel Capek) มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ.1890-1938 เขาใช้คำว่า robot ชึ่งเป็นภาษาเช็ก เพื่อเรียกแรงงานหรือทาส และเริ่มเป็นที่ และถูกใช้ในการตีพิมพ์ครั้งแรกในเรื่องสั้นชื่อ Runaround เมื่อปี ค.ศ.1942 โดย ไอแซค อสิมอฟ (Isaac Asimov)